การให้รหัสการบาดเจ็บจากสาเหตุภายนอกหรือเรียกกันติดปากว่า Trauma หรือ Injury มีหลักการที่ค่อนข้างซับซ้อนเนื่องจากต้องให้ลักษณะของบาดแผลให้ครบถ้วนและต้องลำดับความรุนแรงให้ถูกต้องแล้วยังต้องให้สาเหตุการบาดเจ็บควบคู่เสมอ ยังไม่รวมถึงรหัสผ่าตัดหรือหัตถการที่ต้องให้ความสำคัญไปไม่น้อยกว่ากันอีก Coder ทุกคนทราบดีถึงหลักเกณฑ์และสาเหตุที่ต้องให้แบบนั้น แต่ก็มีคำถามจากสหสาขาวิชาชีพที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้รหัสว่า...ทำไมหรือ???? Coder มือใหม่อาจต้องถอยตั้งสติก่อนสตาร์ท ...ถ้าอธิบายได้ครบถ้วนตั้งแต่แรกก็จะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี....แต่ถ้าพลาดครั้งแรกไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจบ แต่การอธิบายรอบสองนั้นน้ำหนักความน่าเชื่อถือก็จะลดน้อยลงตาม อันนี้เป็นหลักง่ายๆ ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ครับ เกริ่นมาซะยาวยืด กาลครั้งหนึ่งเมื่อต้องขอความร่วมมือ อาจารย์แพทย์ และพี่ๆพยาบาลที่ห้องฉุกเฉินให้ช่วยบันทึกรหัสผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาโดยได้รหัสที่มีคุณภาพ ... เน้น รหัสที่มีคุณภาพ จากหน้างานที่แสนยุ่งเหยิงแต่ก็ยังพอมีเวลา ... อันนี้ใช้เทคนิคส่วนตัวครับในการ เปิดใจซะก่อน...ถ้าไม่ได้ไปบังคับ สั่ง หรือ ฝืนใจใดๆ แพทย์ หรือพี่ๆ พยาบาลเหล่านั้นก็ล้วนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอมา แต่ทั้งนั้นทั้งนี้เราต้องเตรียมเครื่องมือที่ดึงดูด อำนวยความสะดวก หรือแม้กระทั่งให้เวลาในการสอบถามจนหายข้อข้องใจ ... สำคัญครับเรียกว่า First impression ดีทุกอย่างราบรื่น .... พี่น้องท่านใดสนใจโหลด Chart ที่ผมจัดทำไปไว้ดูประกอบการให้รหัสหรือประกอบการบรรยาย ยินดีครับ ไม่มีลิขสิทธิ์ใดๆ แต่ถ้ามี Comment ที่เป็นประโยชน์รบกวนฝากทิ้งไว้ให้ด้วยครับ น้อมรับไปแก้ไข พร้อมโหลดแล้วก็ คลิกเลย >>> ICD10_Trauma เป็นไฟล์ Excel Version 2007 คิดว่าน่าจะเปิดได้นะครับ ลองแปลงเป็น 2003 แล้วไม่ Work ภาพไม่ค่อยชัด...ไว้ติดตามบทอื่นๆ คราวหน้าครับผมสำหรับคราวนี้ สวัสดีครับ ------> แก้ตัวตามคำแนะนำครับ เปลี่ยนไฟล์เป็น Pdf แล้ว ขอบพระคุณ อ.หมอ พรณรงค์ ครับ โหลดเลยคร้าบ ICD10 Trauma_Injury.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น